เรื่องของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดท นายกรัฐมนตรี ดูเหมือนกับว่าจะไม่ได้จบไปแบบแฮปปี้ สักเท่าไหร่ เพราะสังคมจับตา และมีข้อมูลใหม่เข้ามาแบบทะลักทลาย สุดแต่ใครจะเชื่อถือข้อมูลที่เผยแพร่ออกมาหรือไม่ ประการใด แม้ล่าสุดจะโอนหุ้น ไอทีวี. ให้กับบุคคลอื่นไปแล้วก็ตาม
.
ล่าสุด มีข้อกล่าวหาที่เป็นกรณีตีความตามตัวบทกฎหมาย นั่นคือ กรณี 3 สถาบันการเงิน ฟ้องบริษัทน้ำมันพืชแห่งหนึ่ง ที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นผู้จัดการค้ำประกันส่วนตัว และหนี้จำนำหุ้นบริษัท กับสถาบันการเงิน มีไทยพาณิชย์ ธนชาติ และ ยูโอบี ถึง 460ล้านบาท และสถาบันการเงินทั้ง 3 ได้ฟ้องทวงหนี้ให้ชำระหนี้ 460 ล้านบาท
.
"พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ยังไม่ชำระหนี้ แต่กลับไปให้ศาลล้มละลายกลางไกล่เกลี่ย มูลหนี้ เพื่อไม่ให้ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย และส่งผลทำให้ กลายเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆได้อีกต่อไป
.
กรณีนี้หาก "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ฟื้นฟูกิจการ ได้ตามที่ร้องขอต่อศาลล้มละลายกลาง ก็สามารถกลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ต่อไป
.
แต่นั่น !!! หมายถึงว่า ศาลล้มละลายกลาง ต้องจำหน่ายคดีชั่วคราว เพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายมาขอรับชำระหนี้ต่อศาลล้มละลายกลาง เพราะศาลล้มละลาย คือตัวแทนเจ้าหนี้ทำงานรวบรวมทรัพย์ของลูกหนี้เพื่อนำทรัพย์นั้นขายชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตัวแทนลูกหนี้เป็นผู้รวบรวมทรัพย์ลูกหนี้
.
จุดพีคของเรื่อง คือข้อห่วงใยที่ว่า ... ระหว่างมีคำขอชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ลูกหนี้คือ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตัว โดยไม่รับอนุญาติจากศาลล้มละลายก่อนเพราะว่าการทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ หลังจากรู้ว่าตัวเองมีหนี้สินล้นพ้นตัว ถูกสถาบันการเงินฟ้องทวงหนี้ถึง 460 ล้านบาท การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน ทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ตามฟ้องร้อง หรือตามที่ขอชำระหนี้ต่อศาลล้มละลายกลาง ที่ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ทำให้เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีสิทธิที่จะทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับทรัพย์ตัวเอง และบริษัท
.
หากมีการโอนหุ้น ไอทีวี 42,000 หุ้น ทั้งที่รู้อยู่ว่าตัวเองถูกฟ้องให้ชำระหนี้ และมาขอศาลฟื้นฟูบริษัท โอนหุ้นตัวเองให้บุคคลภายนอก ทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ทรัพย์สินที่จะเอามาชำระหนี้ลดน้อยลง อาจจะมีข้อครหาว่าเป็นการโกงเจ้าหนี้ อาจจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ที่มีอยู่
.
กรณีนี้ จึงมีผู้รู้นำเสนอมุมกฎหมาย ที่อาจจะตีความได้ว่า เรื่องนี้อาจจะเข้าข่ายให้ผู้พิทักษ์ทรัพย์ เพิกถอนการโอนหุ้นบริษัทไอทีวี 42,000หุ้น ตามกฎหมายล้มละลาย โดยผู้พิทักษ์ทรัพย์ตัวแทนลูกหนี้ สามารถฟ้องให้การโอนเป็นโมฆะ และหุ้น ไอทีวี ทั้งหมดต้องกลับมาเป็นของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ตามเดิมเพื่อขายทอดตลาดนำเงินที่ขายได้มาเฉลี่ยให้กับเจ้าหนี้ทั้งหลายตามกฎหมายล้มละลาย
พีคที่สุด !!! ตามข้อห่วงใย “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” จะอยู่ในสถานะเสมือนบุคคลล้มละลาย มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆได้อีกต่อไป และน่าจะเข้าข่ายไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ตามกฎหมาย เรื่องหมวดที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดข้อห้าม “บุคคลล้มละลาย” เป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญ
เป็นเรื่องข้อสงสัยใหญ่ทางกฎหมายว่าจะเป็นดังนั้นจริงหรือไม่ ? ขึ้นกับกระบวนการยุติธรรมต่อไป นอกเหนือจากว่าการดำเนินการใด ๆ ไม่ต้องคำนึงถึง รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ กติกา ทุกอย่าง ดังกรณี “นักเรียนเลว” ที่อ้างสิทธิการเป็นนักเรียนที่จะไม่ใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน ไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์กติกา ที่เขากำหนดเอาไว้ ซึ่งหลายคนมองว่า ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความฟุ้งเฟ้อ อวดร่ำอวดรวย ไม่ต้องมีกรอบ มีกฎ มีวินัย นั่นเอง ไม่อยากจะเชื่อว่าสถานการณ์จะลุกลามไปตามนี้